การพัฒนาแบบ Scrum และ Agile
เราเชี่ยวชาญในการพัฒนา Scrum และ Agile ผ่านโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของโครงการที่เปลี่ยนแปลงเสมอและรับรองการจัดส่งที่รวดเร็ว
- หน้าหลัก
- การพัฒนาแบบ Scrum และ Agile
ทำไมถึงใช้ Scrum
เราใช้วิธีการ Scrum ที่สร้างขึ้นมาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของเรา เฟรมเวิร์ก Agile นี้ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุผลสำเร็จบางส่วนได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักพัฒนาและลูกค้า แม้จะอยู่กันคนละประเทศ
การใช้ Scrum ซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนาแบบ Agile มีความสำคัญอย่างยิ่งในโครงการระดับสากล โครงสร้างที่ชัดเจนของ Scrum ช่วยให้การประสานงาน และจัดลำดับความสำคัญของงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทีมงานหลายเชื้อชาติที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมหลากหลาย
Agile software development thrives on close relationships with customers.
Arne – Founder Systech Technology Asia Co. Ltd.
Scrum คืออะไร
Scrum คือรูปแบบหรือวิธีการบริหารโครงการแบบ Agile ความหมายของคำนี้มาจากกีฬารักบี้ ซึ่ง Scrum จะหมายถึงกลุ่มผู้เล่นจำนวนมากที่มารวมตัวกันรอบลูกบอล (ภาษาเยอรมัน: Scrum)
เมื่อใช้การจัดการโครงการแบบ Agile ในรูปแบบ Scrum สมาชิกทุกคนจะพบกันทุกวันเพื่อหารือเกี่ยวกับงานที่จะต้องทำ และตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ
นอกจากนี้ยังมีกฎเกณฑ์และวิธีการเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งถูกออกแบบมาใช้แทนขั้นตอนการวางแผนโครงการที่มีความยุ่งยาก และไม่ยืดหยุ่น เพื่อให้การจัดการโครงการมีความคล่องตัวมากขึ้น
ในโครงการแบบ Scrum มีกฎเกณฑ์ทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนทีมงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
SCRUM
ประโยชน์ของ Scrum
Scrum ช่วยเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และ รับประกันผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงผ่านการพัฒนาแบบ Iterative (การวางแผน การออกแบบ การพัฒนา และการทดสอบซ้ำๆ)
ความรวดเร็ว
เราสามารถนำเสนอผลลัพธ์เบื้องต้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยแต่ละโครงการต่างจะถูกนำไปดำเนินการเป็นระยะ จึงทำให้ได้ผลลัพธ์บางส่วนอย่างรวดเร็ว
ความโปร่งใส
การสื่อสารกับลูกค้าเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาแบบ Agile ซึ่งลูกค้าจะมีส่วนร่วมในกระบวนการทั้งหมดและได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโครงการทั้งหมด
ความยืดหยุ่น
สามารถรับคำติชมจากลูกค้าและนำไปปรับปรุงได้ทันที โดยหากพบว่ามีการพัฒนาที่ผิดพลาดจะถูกระบุและแก้ไขอย่างรวดเร็วในลำดับต่อไป
SCRUM
บทบาทใน Scrum
บทบาทใน Scrum ได้แก่ ผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการงานคงค้าง (Backlog) Scrum Master เป็นผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการ และทีมพัฒนาที่คอยส่งมอบทีละส่วนของผลิตภัณฑ์
ผู้ดูแลผลิตภัณฑ์
ผู้ดูแลผลิตภัณฑ์เป็นตัวแทนของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ อันได้แก่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบและมีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ โดยผู้ดูแลผลิตภัณฑ์จะต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าและนำมาถ่ายทอดต่อให้แก่ทีมงาน
Scrum-Master
Scrum Master มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการ Scrum โดยทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมทีม เป็นผู้ขจัดอุปสรรค ส่งเสริมการทำงานร่วมกันภายในทีมอย่างมีประสิทธิภาพ จัดหาทรัพยากรที่จำเป็น และเป็นผู้ติดต่อหลักกับบุคคลภายนอก
ทีมพัฒนาของเรา
ทีมนักพัฒนาของเรามีความรู้ในหลายสาขาจึงมั่นในได้ว่าทุกทีมสามารถทำงานได้อย่างอิสระและมีความเป็นตัวเอง โดยใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อทำงานร่วมกันในแต่ละโครงการเพื่อให้บรรลุภารกิจและเป้าหมายที่ตกลงกันไว้ในแต่ละ Sprint
SCRUM
กระบวนการ Scrum
กระบวนการ Scrum เป็นเฟรมเวิร์ก Agile ที่เน้นการให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ความสามารถในการปรับตัว และ Iterative Progress (การพัฒนา ตรวจสอบ และทดสอบซ้ำๆ) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การกำหนดและดูแล Product Backlog
Product Backlog คือการรรวบรวมรายการที่ต้องทำและจัดลำดับความสำคัญตามความต้องการของผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ เสมือนเป็นการรวบรวมทุกฟังก์ชันและคุณสมบัติที่ผลิตภัณฑ์พึงมี
Sprint Planning
ในระหว่างการทำ Sprint Planning จะมีการวางแผนะลกำหนดสิ่งที่ต้องทำและเป้าหมายสำหรับ Sprint ครั้งต่อไป จากนั้นงานหรือสิ่งที่ต้องทำแต่ละรายการจะถูกบันทึกลงใน Sprint Backlog
Daily Scrum
ในการประชุมรายวัน 15 นาที หรือ Daily Scrum สมาชิกในทีมแต่ละคนจะรายงานตามลำดับ โดยเริ่มจากสิ่งที่ทำสำเร็จจาก Daily Scrum ครั้งล่าสุด ต่อด้วยการวางแผนสิ่งที่จะต้องเสร็จก่อน Daily Scrum ครั้งถัดไป และอุปสรรค์ต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จได้
Sprint Review
ใน Sprint Review ผลลัพธ์ของ Sprint จะถูกตรวจสอบและยอมรับโดยผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปใช้งานในกระบวนการ Sprint ครั้งต่อไป
Sprint Retrospective
มีการทบทวนการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องใน Sprint Retrospective ซึ่งช่วยในการปรับปรุงกระบวนการต่างๆของโครงการในอนาคต